Saturday, May 18, 2013

ตำแหน่งงาน : นักวิเคราะห์ระบบ

รายละเอียดของงาน :

1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูล ( INFORMATION SYSTEM) รับผิดชอบในการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ เพื่อที่จะหาทางนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิธีการทางธุรกิจ รวมถึงบุคลากรต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไขซึ่งปัญหา และบรรลุถึงความต้องการของธุรกิจนั้นๆ
2. ดีไซต์และจัดวางระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการติดตั้งด้วย
3. ให้คำแนะนำและอบรมทั้งทางด้านเอกสารและการพบปะพูดจา หรือสัมมนาในหัวข้อของระบบงาน

ความรับผิดชอบ :
1. วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ ( Feasibility Study) ของระบบ
2. วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่
3. แจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะร้องพัฒนาขึ้นเพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม
4. กำหนดทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ ( Altermative solution) ในการแก้ปัญหา
5. เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม
6. ดีไซน์และวางระบบงานให้คล้องจองกัน เพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจ
7. ให้คำแนะนำต่างๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง

หน้าที่ :
1. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านกำลังคน
2. กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน
3. ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน
4. จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจในปัจจุบัน
5. พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อปัญหาให้แก่ธุรกิจ
6. วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่างๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐานทางเศรษฐกิจ
7. ทบทวนและยื่นข้อเสนอของระบบงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ
8. ดีไซน์และตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน
9. ดีไซน์แฟ้มหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างต่างๆ ที่ใช้ในระบบ
10. ดีไซน์ลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ ( USERS) กับโปรแกรมเมอร์ ( PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่า
11. ดีไซน์วิธีการเก็บข้อมูลและเทคนิค
12. ดีไซน์ระบบรักษาความปลอดภัย และการควบคุมระบบ
13. ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย
14. วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้ระบบได้พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด (CONVERSION PLANS)

1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ

          หลังจากที่เราได้วิเคราะห์ว่า นักวิเคราะห์ระบบจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางระหว่างนักธุรกิจ ( BUSINESS PEOPLE) หรือผู้ใช้ระบบ ( USERS) กับโปรแกรมเมอร์( PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเป็นอันดับแรกแนวความคิดนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในคุณสมบัติอันควรมีของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน โปรแกรมเมอร์ที่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีได้ในทางตรงกันข้าม โปรแกรมเมอร์ที่ไม่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีไม่ได้ หากเราจะพิจารณาถึงคุณสมบัติพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ระบบควรมี โดยยึดตามแนวทางของงานที่นักวิเคราะห์ระบบต้องใช้ปฏิบัติ ก็จะเป็นดังต่อไปนี้

1. ความรู้ทางด้านเทคนิคของระบบงานข้อมูลและเทคโนโลยี

          นักวิเคราะห์ระบบมักจะถูกมองว่าเป็น " ตัวแทนแห่งความเปลี่ยนแปลง" เหตุที่ว่างงานของนักวิเคราะห์ระบบเป็นงานที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบงานโดยตรง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาความรู้ทางด้านเทคนิค และเทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อระบบงานของผู้ใช้หรือธุรกิจ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีนจึง เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน

2. ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรม

          เป็นที่แน่นอนว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำงานใกล้ชิดกับโปรแกรมเมอร์ ความรู้ทางโปรแกรมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้การสื่อสาร ระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ดำเนินไปได้โดยสะดวกและเข้าใจกัน ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ระบบอาจจะไม่ได้ไปนั่งเขียนโปรแกรมด้วยตนเองก็ตาม นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีความรู้ทางด้าน HIGH-LEVEL PROGRAMMING LANGUABE อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น FORTRAN, BASIC, COBLO,ADA หรือ ที่เราเรียกกันอย่างย่อๆ ว่า 4GL อย่างน้อย 1 ภาษาเช่น DBASE, FOXPRO,ORACLE,MAGIC, หรือ RBASE เป็นต้น ภาษาที่เลือกเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบควรจะพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น หากเป็นบริษัททีพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อขายโดยตรงก็อาจเลือกใช้ภาษา C เป็นต้น หรือหากระบบงานเกี่ยวข้องกับงานทางด้าน วิศวกรรมหรืองานค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็อาจเลือก FORDTRAN เป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ภาษามิได้จำกัดอยู่เฉพาะว่าภาษานั้นเหมาะสมกับงาน ชนิดใดหากแต่ควรคำนึงถึงว่าภาษาที่จะใช้นั้น เป็นภาษาที่สามารถนำไปพัฒนาระบบได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถที่จะรองรับงานนั้นได้จึงเป็นจุดสำคัญ

3. ความรู้ทั่วไปทางด้านธุรกิจ

          คงเป็นไปไม่ได้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญไปซะทุกเรื่องทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์และ ธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบเป็นตัวกลางที่จะ เชื่อมต่อระหว่างการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ มาเป็นประโชน์ต่อธุรกิจหรือผู้ใช้ ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงควรจะมีความรู้ในเชิงธุรกิจบ้าง เช่น การตลาด การบัญชี ระบบงานสินค้าคงคลัง หรือธุรการงานบุคคล จากความรู้พื้นฐานดังกล่าว อาจได้มาเองในระหว่างการพัฒนาระบบ จากการสัมภาษณ์ หรือสอบถามจากผู้รู้หรือจากหนังสือ

4. ความสามารถในการแก้ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา

           นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะตีปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจเป็นส่วนๆ และวิเคราะห์ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหา ในแง่ของการหาเหตุและผล อย่างมีขั้นตอน และรู้จักที่จะใช้ความสามารถของตนเพื่อหาวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา ( ALTERNATIVE SOLUTIONS) แม้ว่าความสามารถอันนี้จะเป็นพรสวรรค์ที่มีมา ในแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ก็สามารถที่จะพัฒนาและเรียนรู้ได้ หัวใจสำคัญของการหาวิธีการแก้ปัญหานั่นก็คือ พยายามมองภาพของปัญหาให้กว้างอย่าคิดว่า วิธีการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ตนคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุดและเป็นวิธีเดียวเท่านั้น อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่นคิดเพื่อแก้ปัญหาที่คล้ายๆ กันกับของตนจะเป็นวิธีมาตรฐาน และใช้ได้กับกรณีของเรา เราควรจะพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน ( STRONG AND WEAK POINTS) ของแต่ละวิธีโดยละเอียดก่อนตัดสินในที่จะนำวิธีการนั้นมาพัฒนาเป็นระบบใช้จริง
5. มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร

           เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องพบปะกับบุคคลหลายประเภท หลายอาชีพ และหลายระดับ เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ เลขานุการ และนักบัญชี การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลต่างๆ ที่นักวิเคราะห์ระบบติดต่อผู้นั้นได้เข้าใจสิ่งที่นักวิเคราะห์ต้องการ มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการสื่อสาร ในที่นี้หมายรวมถึงความสามารถที่จะสัมภาษณ์ ( INTERVIEWING) ความสามารถที่จะอธิบายหรือชี้แจงในที่ประชุม ( PRESENTATION) รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง ( LISTENING) ด้วย นอกจากนี้ ความสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่ม ( GROUP WORK OR TEAM) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์จะขาดเสียไม่ได้ เนื่องจากงานของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะต้องกระจายให้กับโปรแกรมเมอร์ หรือถัดลงไปการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมจึงย่อมส่งผลต่อความสำเร็จและความเชื่อถือต่อนักวิเคราะห์ระบบเองโดยตรง นักวิเคราะห์ระบบควรเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะแต่กับฝ่ายของตนเอง หรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นนักวิเคราะห์และจะทำให้การติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นไปโดยสะดวกขึ้น พร้อมกับลดแรงกดดันหรือต่อต้านจากผู้ใช้ระบบที่มีแนวความคิดว่า ตนโดนยัดเยียดระบบงานใหม่ให้แทนระบบงานแบบดั้งเดิม นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีน จึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน

0 comments:

Post a Comment